Welcome Ram Kids School
     
homepage
site_map
  kid elementary ep_kid ep_elementary
special
  main_school main_activity community_news guarantee.asp mis contact  
 

ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน

ข้อมูลโรงเรียน
ด้านการบริหาร
ด้านวิชาการ
ด้านอาคารสถานที่
ด้านบุคคล
กฎ ระเบียบ ข้อปฏิบัติ
 

 

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง

 

 

การวัดและประเมินผล
 
การวัดประเมินผลระดับประถมศึกษา
 
  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) ได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา

พร้อมทั้งดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้อยู่บนพื้นฐาน 2 ประการ ประการแรก คือ การวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มอย่างต่อเนื่อง โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ
ผลการเรียน และการเรียนรู้ของผู้เรียนในระหว่างการเรียนการสอน โดยการบันทึก วิเคราะห์ แปลความหมาย
ข้อมูล แล้วนำผลมาใช้ในการส่งเสริมหรือปรับปรุงแก้ไขการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสอน ของครูโดย
ใช้วิธีการและเครื่องมือการประเมินที่หลากหลาย เช่น สังเกตพัฒนาการและความประพฤติของผู้เรียน
สังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม การประเมินตามสภาพจริง หรือแฟ้มสะสมงาน ควบคู่ไปกับ
การใช้การทดสอบแบบต่าง ๆ และการใช้เกณฑ์การให้คะแนน (Rubrics) ซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย
ตามธรรมชาติของแต่ละวิชาของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดในการประเมินเพื่อพัฒนา
คือ การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนในลักษณะคำแนะนำที่เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ทำให้การเรียนรู้
พอกพูน แก้ไขความคิด ความเข้าใจเดิมที่ไม่ถูก ตลอดจนการให้ผู้เรียนสามารถตั้งเป้าหมายและพัฒนาตนได้

  จุดมุ่งหมายประการที่สอง คือ การวัดและประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียนเป็นการประเมิน
สรุปผลการเรียนรู้ ซึ่งมีหลายระดับ ได้แก่ เมื่อเรียนจบหน่วยการเรียนจบรายวิชาเพื่อตัดสินให้คะแนน หรือ
ให้ระดับผลการเรียนซึ่งในการประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนโดยให้โอกาสผู้เรียนแสดงความรู้
ความสามารถด้วยวิธีการที่หลากหลาย และพิจารณาตัดสินผลการปฏิบัติบนพื้นฐานของเกณฑ์
   

องค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) ได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
พร้อมทั้งการดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี
และมีขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระดับโลก ซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้
ตัวชี้วัดที่กำหนดในสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ มีความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน
มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ดังนี้
 

1.  การประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
2.  การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์  และเขียน
3.  การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
4.  การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

   
การประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
  การประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ เป็นการประเมินความรู้
ความสามารถ ทักษะ เจตคติ และทักษะการคิดที่กำหนดอยู่ในตัวชี้วัดในหลักสูตร โดยผู้สอนดำเนิน
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นรายวิชาตามตัวชี้วัดในรายวิชาพื้นฐาน และตามกระบวนการเรียนรู้
ในรายวิชาเพิ่มเติมตามที่กำหนดในหน่วยการเรียนรู้ ผู้สอนใช้วิธีการที่หลากหลายเพื่อให้ได้ผลการประเมิน
ที่สะท้อนความรู้ความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน พร้อมทั้งวัดและประเมินผลการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
  ในส่วนของการประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย
รามคำแหง (ฝ่ายประถม) ได้กำหนดสัดส่วนคะแนนระหว่างเรียนกับคะแนนรายภาค/ปี ดังนี้
   
ลำดับ
วิชา
ภาคเรียนที่ 1
ภาคเรียนที่ 2
ปลายปี
ระหว่าง
ปลาย
คะแนน
ระหว่าง
ปลาย
คะแนน
ระหว่าง
ปลาย
คะแนน
เรียน
ภาค
รวม
เรียน
ภาค
รวม
เรียน
ภาค
รวม

1

ภาษาไทย

35

15

50

35

15

50

70

30

100

2

คณิตศาสตร์

35

15

50

35

15

50

70

30

100

3

วิทยาศาสตร์

35

15

50

35

15

50

70

30

100

4

สังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม

35

15

50

35

15

50

70

30

100

5

สุขศึกษาและพลศึกษา

40

10

50

40

10

50

80

20

100

6

ศิลปะ

40

10

50

40

10

50

80

20

100

7

การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี

40

10

50

40

10

50

80

20

100

8

ภาษาต่างประเทศ

35

15

50

35

15

50

70

30

100

   
เกณฑ์การตัดสินเพื่อให้ระดับผลการเรียน  ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
  นักเรียนต้องได้เรียนครบตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม และได้รับการตัดสินผลการเรียน
ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยได้รับรายงานผลการเรียนเป็น 8 ระดับ ดังนี้
 

1.  ระดับผลการเรียน   4         หมายถึง  ผลการเรียนดีเยี่ยม   (คะแนน 80-100
2.  ระดับผลการเรียน   3.5      หมายถึง  ผลการเรียนดีมาก   (คะแนน 75-79)
3.  ระดับผลการเรียน   3         หมายถึง  ผลการเรียนดี  (คะแนน 70-74)
4.  ระดับผลการเรียน   2.5      หมายถึง  ผลการเรียนค่อนข้างดี (คะแนน 65-69) 
5.  ระดับผลการเรียน   2         หมายถึง  ผลการเรียนปานกลาง (คะแนน 60-64) 
6.  ระดับผลการเรียน   1.5      หมายถึง  ผลการเรียนพอใช้  (คะแนน 55-59)
7.  ระดับผลการเรียน   1         หมายถึง  ผลการเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ (คะแนน 50-45) 
8.  ระดับผลการเรียน   0         หมายถึง  ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ (คะแนน 0-49)

  กรณีนักเรียนได้รับการตัดสินผลการเรียนเป็น “ 0 หมายถึง ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ต้องแก้ไข ”
นักเรียนต้องเข้ารับการซ่อมเสริม และประเมินตามที่โรงเรียนกำหนดแล้วจะได้รับการเปลี่ยนระดับผล
การเรียนเป็น “ 1 หมายถึง ผลการเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด ”
   
การประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์  และเขียน
 

การประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์  และเขียน เป็นการประเมินศักยภาพของผู้เรียน ในการอ่าน

จากหนังสือ ตำราเรียน เอกสารและสื่อต่างๆ เพื่อหาความรู้ และเพิ่มพูนประสบการณ์  เพื่อความสุนทรีย์
และประยุกต์ใช้แล้วสามารถนำเนื้อหาสาระที่อ่านมาคิดวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การแสดงความคิดเห็น
การสังเคราะห์ การสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาในเรื่องต่าง ๆ และถ่ายทอดความคิดด้วยการเขียนที่มี
สำนวนภาษาถูกต้องมีเหตุผล และลำดับขั้นตอนในการนำเสนอสามารถสร้างความเข้าใจแก่ผู้อ่าน
ได้อย่างชัดเจนได้อย่างชัดเจนตามระดับความสามารถในระดับชั้นประถมศึกษาซึ่งได้กำหนดขอบเขต
การประเมินและตัวชี้วัดที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนดังนี้

 

ตัวชี้วัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ชั้น ป.1 - ป.3
1.  สามารถอ่านและหาประสบการณ์จากสื่อที่หลากหลาย
2.  สามารถจับประเด็นสำคัญ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็นเรื่องที่อ่าน
3.  สามารถเปรียบเทียบแง่มุมต่าง ๆ เช่น ข้อดี ข้อเสีย ประโยชน์ โทษ ความเหมาะสม ไม่เหมาะสม
4.  สามารถแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่าน โดยมีเหตุผลประกอบ
5.  สามารถอ่านถ่ายทอดความคิดเห็นความรู้สึกจากเรื่องที่อ่านโดยการเขียน

 

ตัวชี้วัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ชั้น ป.4 - ป.6
1.  สามารถอ่านเพื่อหาข้อมูลสารสนเทศเสริมประสบการณ์จากสื่อประเภทต่างๆ
2.  สามารถจับประเด็นสำคัญ เปรียบเทียบ เชื่อมโยงความเป็นเหตุเป็นผลจากเรื่องที่อ่าน
3.  สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเรื่องราว เหตุการณ์ของเรื่องที่อ่าน
4.  สามารถแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่านโดยมีเหตุผลสนับสนุน
5  สามารถอ่านทอดความเข้าใจ ความคิดเห็น คุณค่าจากเรื่องที่อ่านโดยการเขียน

  นักเรียนต้องผ่านการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน โดยมีเกณฑ์การประเมินเป็น 4 ระดับ
ดังนี้
  1.  ระดับผลการประเมิน   3       หมายถึง  ดีเยี่ยม
      (มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนที่มีคุณภาพดีเลิศอยู่เสมอ)
2.  ระดับผลการประเมิน   2       หมายถึง  ดี
      (มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ)
3.  ระดับผลการประเมิน   1       หมายถึง  ผ่าน
      (มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มีคุณภาพเป็นที่      
       ยอมรับแต่ยังมีข้อบกพร่องบางประการ)
4.  ระดับผลการประเมิน   0       หมายถึง ไม่ผ่าน 
      (ไม่มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน หรือถ้ามีผลงาน 
       ผลงานนั้นยังมีข้อบกพร่องที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขหลายประการ)
  กรณีนักเรียนได้รับผลการประเมินเป็น “ 0 หมายถึง ไม่ผ่าน ” นักเรียนต้องเข้ารับการซ่อมเสริม
และประเมินตามที่โรงเรียนกำหนดแล้วจะได้รับการเปลี่ยนระดับผลการประเมินให้เป็น “ 1 หมายถึง ผ่าน
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ”
   
การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
  การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นการประเมินคุณลักษณะที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
อันเป็นคุณลักษณะที่สังคมต้องการในด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึก สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่น
ในสังคมได้อย่างมีความสุขทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ซึ่งการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) ประกอบด้วย 10 คุณลักษณะ ดังนี้
 

  รักชาติ  ศาสน์  กษัตริย์

  มุ่งมั่นในการทำงาน

  ซื่อสัตย์  สุจริต

  รักความเป็นไทย

  มีวินัย

  มีจิตสาธารณะ

  ใฝ่เรียนรู้

  มีคุณธรรม

  อยู่อย่างพอเพียง

ชี้นำสังคม

  นักเรียนต้องผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยมีเกณฑ์การประเมินเป็น 4 ระดับ ดังนี้
  1.  ระดับผลการประเมิน   3       หมายถึง  ดีเยี่ยม
      (ผู้เรียนปฏิบัติตนตามคุณลักษณะจนเป็นนิสัย และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อประโยชน์สุข
       ของตนเองและสังคม)
2.  ระดับผลการประเมิน   2       หมายถึง  ดี
      (ผู้เรียนมีคุณลักษณะในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ เพื่อให้เป็นการยอมรับของสังคม)
3.  ระดับผลการประเมิน   1       หมายถึง  ผ่าน
      (ผู้เรียนรับรู้และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่โรงเรียนกำหนด)
4.  ระดับผลการประเมิน   0       หมายถึง ไม่ผ่าน 
      (ผู้เรียนรับรู้และปฏิบัติได้ไม่ครบตามกฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่โรงเรียนกำหนด)
  กรณีนักเรียนได้รับผลการประเมินเป็น “ 0 หมายถึง ไม่ผ่าน ” นักเรียนต้องเข้ารับการซ่อมเสริม
และประเมินตามที่โรงเรียนกำหนด แล้วจะได้รับการเปลี่ยนระดับผลการประเมินให้เป็น “ 1 หมายถึง ผ่าน
การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ”
   
การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
  การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นกิจกรรมที่โรงเรียนจัดให้สำหรับนักเรียนทุกคน
ภาคเรียนละ  2  กิจกรรม คือกิจกรรมพัฒนาตน และกิจกรรมการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมพัฒนา
ความสามารถของตนเองตามความถนัด ความสนใจให้เต็มศักยภาพ  โดยมุ่งเน้นการพัฒนาองค์รวมของ
ความเป็นมนุษย์ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม สร้างเยาวชนของชาติให้เป็นผู้มีศีลธรรม
มีระเบียบวินัย ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคมและสามารถบริหารจัดการตนเองได้
  เมื่อผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยจะได้รับการประเมินเพื่อผ่านเกณฑ์ การพิจารณา
2 เกณฑ์  ดังนี้
 

- เกณฑ์การผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้
- เกณฑ์เวลาเข้าร่วมกิจกรรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 

  เกณฑ์การตัดสินผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ดังนี้
 

1.   ระดับผลการประเมิน “ผ” หมายถึง ผ่าน เมื่อมีผลการประเมินผ่านทั้ง 2 เกณฑ์
2.  ระดับผลการประเมิน  “มผ” หมายถึง  ไม่ผ่าน เมื่อมีผลการประเมินผ่านไม่ครบทั้ง 2 เกณฑ์

  กรณีนักเรียนได้รับผลการประเมินเป็น “ มผ หมายถึง ไม่ผ่าน ” นักเรียนต้องเข้ารับการซ่อมเสริม
และประเมินตามที่โรงเรียนกำหนด แล้วจะได้รับการเปลี่ยนระดับผลการประเมินให้เป็น “ ผ หมายถึง ผ่าน
การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ”
 

 

 

 

   

Copyright by Ramkhamhaeng University Demonstration School (Elementary Level) @ 2009-2023

นักเรียนอนุบาล | นักเรียนประถมศึกษา | English Program : Kindergarten | English Program : Elementary
Home | ข้อมูลทั่วไป | ศูนย์การศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ | การรับประกันคุณภาพ | ข้อมูลสารสนเทศ | ติดต่อเรา