Welcome Ram Kids School
     
homepage
site_map
  kid elementary ep_kid ep_elementary
special
  main_school main_activity community_news guarantee.asp mis contact  
 

ศูนย์การศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง

โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนนักเรียน
อาจารย์ผู้ดูแล
การจัดการเรียนการสอน
อัตราค่าธรรมเนียม
เครื่องแบบนักเรียน
ปฏิทินกิจกรรม
ตารางเรียน

 

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง

 

โครงสร้างหลักสูตร   

รูปแบบการจัดการศึกษา (โครงการศูนย์การศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ)

    โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) ได้จัดตั้งโครงการศูนย์การศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ
  เพื่อจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษที่มีศักยภาพในการเรียนร่วมได้ในระดับชั้นอนุบาล 1 - 3 และดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 การจัดการศึกษานั้น ได้เปิดโอกาสทาง  การศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษโดยเน้นระบบการศึกษาแบบเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติ
มีครูการศึกษาพิเศษคอยดูแลในชั้นเรียนตามศักยภาพของผู้เรียน และทั้งนี้ยังมีการจัดระบบการศึกษาสำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถเรียนร่วมได้ในบางรายวิชา โดยให้เรียนในห้องเรียนเสริมวิชาการกับครูการศึกษาพิเศษ ซึ่งได้จัดเนื้อหาการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา พร้อมทั้งให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งนี้ได้มีการจัดรูปแบบของชั้นเรียน ดังนี้
     
     
  1. ชั้นเตรียมความพร้อมเรียนร่วม หมายถึง การจัดการศึกษาให้นักเรียนในระดับชั้นอนุบาล 1 และ
  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ให้แก่นักเรียน เช่น ด้านวิชาการ การช่วยเหลือตนเอง ด้านทักษะทางสังคม ก่อนที่จะเข้าสู่ระบบการเรียนร่วมใน ชั้นเรียนปกติ แต่จะมีเรียนร่วมบางเวลา เช่น วิชาดนตรี ศิลปะ นาฏศิลป์ พลศึกษา การงานอาชีพ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
     
  2. ชั้นเรียนร่วมบางเวลา หมายถึง  การจัดการศึกษาให้นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ เรียนในชั้นเรียนปกติ
  ในบางรายวิชาโดยประเมินจากความสามารถของนักเรียนเป็นรายบุคคล
ซึ่งวิชาพื้นฐานที่นักเรียนจะได้เรียนร่วม คือ วิชาดนตรี ศิลปะ นาฏศิลป์ พลศึกษา การงานอาชีพ คอมพิวเตอร์ และร่วมกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี หรือรายวิชาอื่น ๆ เพิ่มเติมตามศักยภาพของนักเรียน ซึ่งนักเรียนที่รับการจัดการศึกษาในลักษณะนี้ คือ มีความบกพร่องระดับปานกลางถึงระดับมาก
จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้ ทั้งนี้ในรายวิชาที่นักเรียนไม่สามารถเรียนร่วมได้ ทางโครงการศูนย์การศึกษาพิเศษได้จัดการศึกษาในชั้นเรียนพิเศษโดยครูการศึกษาพิเศษเป็นผู้สอน ซึ่งมีเนื้อหาการเรียนสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา
     
  3. ชั้นเรียนร่วมเต็มเวลา หมายถึง การจัดให้นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ได้เรียนชั้นเดียวกับเด็กปกติ
  ตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียนรวมทั้งกิจกรรมนอกโรงเรียน เป็นการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ที่มีความสามารถในการเรียนรู้และมีความพร้อม
ทางวุฒิภาวะทางอารมณ์และสังคม
     
รายวิชาในการจัดการเรียน ระดับปฐมวัย
    การจัดการเรียนการสอนเรียนร่วมระดับปฐมวัย โรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
  (Integration) โดยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมกับนักเรียนภาคปกติ  2  กิจกรรม 
คือ  กิจกรรมเสรี  และกิจกรรมกลุ่ม  และในระดับชั้นอนุบาล  3  จะเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษ  คอมพิวเตอร์  และดนตรีสากล สัปดาห์ละ  1  ครั้ง  นอกจากนั้นนักเรียนยังได้รับการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ที่เหมาะสม และสอดคล้องกับพัฒนาการ  โดยมีหลักสูตรที่ยืดหยุ่น
ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
     
    นอกจากนี้โรงเรียนยังมีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นกิจกรรมให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง นักเรียนได้ลงมือ
  ปฏิบัติจริงส่งเสริมทักษะ 5 ด้าน ได้แก่ ทักษะด้านการรับรู้และความสนใจ ทักษะด้านสังคม ทักษะด้านกล้ามเนื้อ ทักษะความพร้อมทางด้านวิชาการ และทักษะด้านอารมณ์ โดยมีการจัดกิจกรรมในรูปแบบโครงการต่าง  ๆ  คือ
   

1.  โครงการสุขภาพดีชีวีมีสุข
2.  โครงการทัศนศึกษานอกสถานที่
3.  เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ  ของทางโรงเรียน  ฯลฯ

       
   

การวัดและประเมินผล

    ประเมินผลพัฒนาการของนักเรียนเป็นรายบุคคลอย่างต่อเนื่องจากการทำกิจกรรม  และกิจวัตรประจำวัน 
  ซึ่งมีรูปแบบยืดหยุ่นต่อการพัฒนาทักษะ  5  ด้าน  โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
   

1.  การจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยมีคณะกรรมการ

   

2.  การนำ IEP สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน

   

3.  แบบสังเกตพฤติกรรมในการเรียน โดยอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ผู้ดูแล

    4.  จัดอุปกรณ์และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ปรับวิธีการสอบ กำหนดเวลาในการสอบให้เหมาะสม/พร้อมที่จะสอบ
   

5.  พิจารณาเป็นรายบุคคล

     
รายวิชาในการจัดการเรียน ระดับประถมศึกษา
    โครงการศูนย์การศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ จัดเนื้อหาการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา พร้อมทั้งให้ม
  ีความสอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล ตามสาระวิชา  8  กลุ่มสาระ ดังนี้
    1.  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
   

2.  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

   

3.  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

    4.  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
   

5.  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

   

6.  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

   

7.  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ดนตรีไทย นาฏศิลป์

    8.  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
     
    การวัดและประเมินผล
   

1.  การจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยมีคณะกรรมการ

   

2.  การนำ IEP สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน

   

3.  ให้ใช้เกณฑ์ประเมินผลสาระการเรียนรู้นั้นตามปกติ

   

4.  แบบสังเกตพฤติกรรมในการเรียน โดยอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ผู้ดูแล

   

5.  จัดอุปกรณ์และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ปรับวิธีการสอบ กำหนดเวลาในการสอบให้เหมาะสม/ พร้อมที่จะสอบ

   

6.  พิจารณาเป็นรายบุคคล

     
   

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

    โครงการศูนย์การศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
  เพื่อพัฒนาผู้เรียนในด้านต่าง ๆ เสริมจากสาระวิชา  8  กลุ่มสาระ ดังมีการจัดรูปแบบการเรียนตามศักยภาพของนักเรียนเป็นรายบุคคล  ดังนี้
       
   

-   การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกิจกรรมการใช้ห้องสมุด  เป็นกิจกรรมที่จัดสอนให้ผู้เรียนในระดับอนุบาล 1 - 3 ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในทักษะการใช้ห้องสมุด การจัดเก็บและสืบค้นข้อมูล การดูแลรักษาหนังสือ การยืม-คืน หนังสือ   การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสืบค้นข้อมูล เพื่อปลูกฝังให้เรียนเป็นผู้ใฝ่รู้ สามารถคิดเป็น ทำเป็น ฉลาด และรู้จักเลือกสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น

       
    -   การจัดการเรียนการสอนกิจกรรมฝึกพูด เป็นการจัดกิจกรรมที่จัดสอนให้กับผู้เรียนใน
ระดับอนุบาล 1 - 3 ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 เฉพาะนักเรียนที่มีปัญหาใน  
การพูดและการใช้ภาษาทั้งในชีวิตประจำวันและที่เป็นปัญหาในการเรียน ซึ่งจะมีการจัด รูปแบบการสอนและกิจกรรมให้สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียนแบบรายบุคคลเพื่อ
ให้สามารถมีทักษะในการใช้ภาษาที่ดีขึ้น
     
    -   การจัดการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อ เป็นการจัดกิจกรรมที่จัดสอนให้กับผู้เรียนในระดับอนุบาล 1 - 3 ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 เฉพาะนักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับทักษะทางร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ รูปแบบกิจกรรมบำบัด
     
    -   การจัดการเรียนการสอนกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม เป็นการจัดกิจกรรมที่จัดสอนให้กับผู้เรียนในระดับอนุบาล 1 - 3 ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 เฉพาะนักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับความบกพร่องทางทักษะด้านอารมณ์และสัมคม ซึ่งโรงเรียนได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียน เพราะคุณธรรมส่งผลต่อพฤติกรรม ความคิด และจิตใจของนักเรียน จะทำให้นักเรียนสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข และเป็นคนดี ในสังคมและประเทศชาติต่อไป
     
    -    การจัดการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ของโรงเรียนแบ่งหลักสูตรลูกเสือ-เนตรนารี ออกเป็น  2  หลักสูตร ได้แก่
      หลักสูตรลูกเสือ-เนตรนารีสำรอง  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
      หลักสูตรลูกเสือ-เนตรนารีสามัญ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6
    โดยจัดกิจกรรมจะมุ่งปลูกฝังความมีระเบียบวินัย กฎเกณฑ์ เพื่อการอยู่ร่วมกัน อันนำไปสู่พื้นฐาน
  การทำประโยชน์แก่สังคม และพัฒนาบุคลิกภาพลักษณะนิสัย ให้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ มีความสำนึกที่ดี รู้จักช่วยเหลือผู้อื่นและรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
       

 

 

 

   

Copyright by Ramkhamhaeng University Demonstration School (Elementary Level) @ 2009-2023

นักเรียนอนุบาล | นักเรียนประถมศึกษา | English Program : Kindergarten | English Program : Elementary
Home | ข้อมูลทั่วไป | ศูนย์การศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ | การรับประกันคุณภาพ | ข้อมูลสารสนเทศ | ติดต่อเรา