Welcome Ram Kids School
     
homepage
site_map
  kid elementary ep_kid ep_elementary
special
  main_school main_activity community_news guarantee.asp mis contact  
 

ชุมชนสาธิตรามฯ

ข่าวประชาสัมพันธ์
เว็บบอร์ด (กระทู้)
KM สาธิตราม
สาระน่ารู้
ศูนย์สื่อการเรียนรู้
คำสั่งโรงเรียน
ประกาศราคากลาง
 

 

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง

 

Discussion Board / Web Board / เว็บบอร์ด / กระดานสนทนา

<< กลับหน้าหลัก >>

วิธีการสอนแบบ สะเต็มศึกษา (STEM Education) ...อ่านเอกสารประกอบ..
1. ชื่อวิธีการสอน
___ การสอนแบบ สะเต็ม (STEM Education)

2. ชื่อ-สกุลผู้ค้นคว้า/กลุ่มสาระการเรียนรู้
___ อาจารย์ สมชาย อุ่นแก้ว กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

3. ลักษณะเด่น/แนวความสำคัญของรูปแบบการจัดการการเรียนรู้
___ • สะเต็มศึกษา (STEM Education)

STEM Education คือการสอนแบบบูรณาการข้าม กลุ่มสาระวิชา (Interdisciplinary Integration)
ระหว่าง ศาสตร์สาขาต่างๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science: S) เทคโนโลยี (Technology: T)
วิศวกรรมศาสตร์ (Engineer: E) และ คณิตศาสตร์ (Mathematics: M) โดยนำจุดเด่นของธรรมชาติ
ตลอดจนวิธีการสอนของแต่ละสาขาวิชามาผสมผสานกันอย่าง ลงตัว เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนง
มาใช้ในการแก้ปัญหา การค้นคว้า และการพัฒนาสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์โลกปัจจุบัน ซึ่งอาศัยการจัด
การเรียนรู้ที่ครูผู้สอนหลายสาขาร่วมมือกัน เพราะในการทำงานจริงหรือในชีวิตประจำวันนั้นต้องใช้
ความรู้หลายด้านในการทำงานทั้งสิ้นไม่ได้แยกใช้ความรู้เป็นส่วนๆ นอกจากนี้ STEM Education
ยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนา ทักษะสำคัญในโลกโลกาภิวัตน์หรือทักษะที่จำเป็นสำหรับ ศตวรรษที่ 21
อีกด้วย ทั้งนี้ STEM Education เป็นการจัดการศึกษาที่มี แนวคิด และลักษณะดังนี้

___ 1. เป็นการบูรณาการข้ามกลุ่มสาระวิชา (Interdisciplinary Integration)
นั่นคือเป็นการบูรณาการระหว่างศาสตร์สาขาต่างๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (S) เทคโนโลยี (T)
วิศวกรรมศาสตร์ (E) และ คณิตศาสตร์ (M) ทั้งนี้ได้นำจุด เด่นของธรรมชาติตลอดจน
วิธีการสอนของแต่ละสาขาวิชามา ผสมผสานกันอย่างลงตัว กล่าวคือ

.... • วิทยาศาสตร์ (S) เน้นเกี่ยวกับความเข้าใจใน ธรรมชาติ โดยนักการศึกษามักชี้แนะให้อาจารย์
ครูผู้สอนใช้ วิธีการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการสืบเสาะ (Inquiry-based Science Teaching)
กิจกรรมการสอนแบบแก้ปัญหา (Scientific Problem-based Activities) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่
เหมาะกับผู้เรียนระดับประถมศึกษา แต่ไม่เหมาะกับผู้เรียน ระดับมัธยมศึกษา หรือมหาวิทยาลัย
เพราะทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่ายและไม่สนใจ แต่การสอนวิทยาศาสตร์ใน STEM Education
จะทำให้นักเรียนสนใจ มีความกระตือรือร้น รู้สึกท้าทายและเกิดความมั่นใจในการเรียน ส่งผลให้ผู้เรียน
สนใจที่ จะเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นที่สูงขึ้นและประสบความสำเร็จในการเรียน

.... • เทคโนโลยี (T) เป็นวิชาที่เกี่ยวกับกระบวนการ แก้ปัญหา ปรับปรุง พัฒนาสิ่งต่างๆ หรือ
กระบวนการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนเรา โดยผ่านกระบวนการ ทำงานทางเทคโนโลยี
ที่เรียกว่า Engineering Design หรือ Design Process ซึ่งคล้ายกับกระบวนการสืบเสาะ
ดังนั้น เทคโนโลยีจึงมิได้หมายถึงคอมพิวเตอร์หรือ ICT ตามที่คนส่วน ใหญ่เข้าใจ

.... • วิศวกรรมศาสตร์ (E) เป็นวิชาที่ว่าด้วยการคิด สร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรมต่างๆ ให้กับนิสิต
นักศึกษาโดยใช้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งคน ส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า
เป็นวิชาที่สามารถเรียนได้ แต่จากการ ศึกษาวิจัยพบว่าแม้แต่เด็กอนุบาลก็สามารถเรียนได้ดีเช่นกัน

.... • คณิตศาสตร์ (M) เป็นวิชาที่มิได้หมายถึงการนับ จำนวนเท่านั้น แต่เกี่ยวกับองค์ประกอบอื่น
ที่สำคัญ ประการแรก คือกระบวนการคิดคณิตศาสตร์ (Mathematical Thinking) ซึ่งได้แก่
การเปรียบเทียบ การจำแนก/จัดกลุ่มการ จัดแบบรูป และการบอกรูปร่างและคุณสมบัติ
ประการที่สอง คือ ภาษาคณิตศาสตร์ เด็กจะสามารถถ่ายทอดความคิดหรือ ความเข้าใจความคิด
รวบยอด (Concept) ทางคณิตศาสตร์ได้ โดยใช้ภาษาคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร เช่น มากกว่า
น้อยกว่า เล็กกว่า ใหญ่กว่า ฯลฯ

ประการสุดท้าย คือการส่งเสริมการคิด คณิตศาสตร์ขั้นสูง (Higher-Level Math Thinking)
จาก กิจกรรมการเล่นของเด็กหรือการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน


___ 2. เป็นการบูรณาการที่สามารถจัดสอนได้ในทุกระดับชั้น
ตั้งแต่ชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษาตอนปลาย โดยพบว่าใน ประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดเป็นนโยบาย
ทางการศึกษาให้ แต่ละรัฐนำ STEM Education มาใช้ ผลจากการศึกษาพบว่า ครูผู้สอนใช้วิธีการสอน
แบบ Project-based Learning, Problem-based Learning, Design-based Learning
ทำให้ นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ พัฒนาชิ้นงานได้ดี และถ้าครูผู้สอนสามารถใช้ STEM Education
ในการสอนได้เร็วเท่าใดก็ จะยิ่งเพิ่มความสามารถและศักยภาพผู้เรียนได้มากขึ้นเท่านั้นซึ่งในขณะนี้
ในบางรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกามีการนำ STEM Education ไปสอนตั้งแต่ระดับวัยก่อนเรียน
(Preschool) ด้วย

___ 3. เป็นการสอนที่ ทำให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างครบถ้วน และสอดคล้องกับแนว
การพัฒนาคนให้มี คุณภาพในศตวรรษที่ 21 เช่น

.... • ด้านปัญญา ผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหาวิชา
.... • ด้านทักษะการคิด ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิด โดยเฉพาะการคิดขั้นสูง เช่น การคิดวิเคราะห์
การคิด สร้างสรรค์ ฯลฯ
.... • ด้านคุณลักษณะ ผู้เรียนมี ทักษะการทำงานกลุ่มทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การเป็นผู้นำ
ตลอดจนการ น้อมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่น

.... จากแนวคิดข้างต้นนักการศึกษาก็ยังได้มีบูรณาการ ศาสตร์อื่นประกอบเพื่อให้การจัดการศึกษา
STEM Education นั้นครอบคลุมและพัฒนาผู้เรียนได้อย่างแท้จริงแบบรอบด้าน เช่น
การจัดการศึกษา STEAM Education ที่มีการบูรณาการศิลปะ (A) ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสถ่ายทอด
หรือประยุกต์ใช้ แนวคิดสำคัญ (Concept) ด้วยความคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการยิ่งขึ้นผู้เรียน
ยังสามารถสื่อสารความคิดของตนเอง ในรูปแบบของดนตรีและการเคลื่อนไหว การสื่อสารด้วยภาษา
ท่าทางหรือการวาดภาพ หรือการสร้างโมเดลจำลอง ทำให้ชิ้น งานนั้นๆ มีองค์ประกอบด้านความสุนทรีย์
และความสวยงาม เพิ่มขึ้น เกิดเป็นชิ้นงานที่มีความสมบูรณ์ทั้งการใช้งานและ ความสวยงาม

.... นอกจาก STEM Education จะเป็นการบูรณาการ ศาสตร์ทั้ง 4 สาขาดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว
ยังเป็นการบูรณาการ ด้านบริบท (Context Integration) ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันอีกด้วย
ซึ่งจะทำให้การสอนนั้นมีความหมายต่อผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของการเรียนนั้นๆ และสามารถ
นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการทำงาน การเพิ่มมูลค่า และสามารถสร้าง
ความแข็งแกร่งให้กับประเทศ ด้านเศรษฐกิจได

___ ที่มา : STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. พรทิพย์ ศิริภัทราชัย
,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


>>>> จากข้อความข้างต้นเป็นเพียงคำบรรยายเนื้อหาเบื้องต้น ... ท่านสามารถอ่านข้อมูลทั้งหมด
ได้จากลิ้งเอกสารประกอบด้านบนของชื่อหัวเรื่อง <<<<

โดย : อาจารย์ สมชาย อุ่นแก้ว กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (วันที่ : 27/08/2561 เวลา 17:40:31)


การแสดงความคิดเห็น

  • กรุณาใช้ถ้อยคำที่สุภาพ เคารพสิทธิของผู้อื่น รวมถึงในการพาดพิง กล่าวหา ว่าร้าย และต้องเป็นข้อความที่ไม่กระทบถึงสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • กรุณาตรวจสอบข้อความก่อนทำการส่งความคิดเห็นทุกครั้ง ซึ่งทางผู้ดูแลเว็บไซต์จะตรวจสอบข้อความ ก่อนนำขึ้นสู่เว็บทุกข้อความ
  • ผู้ดูแลเว็บไซต์ขอสงวนสิทธิ์ที่จะลบ แก้ไข เคลื่อนย้าย หรือปิดหัวข้อใด โดยเหตุผลตามความเหมาะสม

 

แสดงความคิดเห็น
ข้อความ
โดย

ทางโรงเรียนขอตรวจสอบข้อความของท่าน
เพื่อป้องกันการแสดงความคิดเห็นที่ไม่สมควร
โดยจะแสดงความคิดเห็นของท่านภายใน 24 ชม. ขอบคุณค่ะ

<< กลับหน้าหลัก ... click ...>>

 

 

 

   

Copyright by Ramkhamhaeng University Demonstration School (Elementary Level) @ 2009-2023

นักเรียนอนุบาล | นักเรียนประถมศึกษา | English Program : Kindergarten | English Program : Elementary
Home | ข้อมูลทั่วไป | ศูนย์การศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ | การรับประกันคุณภาพ | ข้อมูลสารสนเทศ | ติดต่อเรา